
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบน้ำเหลืองกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต คือ เซลล์ ทุกเซลล์จึงต้องการอาหาร ออกซิเจนและต้องขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ การแลกเปลี่ยนสารเหล่านี้เกิดขึ้นระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อม ในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและไม่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน การแลกเปลี่ยนสารระหว่างเซลลับสิ่งแวดล้อมเกิดโดยวิธีแพร่ แต่ในสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์จำนวนมาก และมีขนาดร่างกายใหญ่โตซับซ้อน
การแพร่อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะแลกเปลี่ยนสากับเซลล์ทุกเซลล์ได้ จึงต้องมีกระบวนการลำเลียงสารต่าง ๆ เข้าและออกจากเซลล์ โดยมีโครงสร้างพิเศษที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการลำเลียงสาร โครงสร้างนั้นประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่างทำงานร่วมกันเป็นระบบหมุนเวียนเลือด
การลำเลียงสารในร่างกายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวของสัตว์
ไส้เดือนดิน มีหลอดเลือดทอดยาวตลอดลำตัวทั้งด้านบนและด้านล่า โดยหลอดเลือดทางหัวมีลักษณะเป็นห่วงหลอดเลือดรอบบริเวณหลอดอาหารติดต่อระหว่างหลอดเลือดด้านบนและด้านล่าง ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเหมือนกับหัวใจ จึงเรียกห่วงหลอดเลือดบริเวณนี้ว่า หัวใจเทียม(pseuduheart) โดยเลือดของไส้เดือนดินจะไหลวนอยู่ในหลอดเลือดต่อเนื่องกับตลอด เป็นระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด (closed circulatory system)
แมลง มีหลอดเลือดใหญ่อยู่ทางด้านหลังของลำตัว หลอดเลือดบงส่วนขยายขนาดขึ้น ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเรียกว่า หัวใจ บางช่วงเลือดจะออกจากหลอดเลือดแทรกซึมตามช่องว่างภายในลำตัวส่วนต่าง เลือดจะสัมผัสกับเนื้อเยื่อโดยตรง และมีการแลกเปลี่ยนสาร เลือดที่เลี้ยงเนื้อเยื่อแล้วจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจ โดยการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อลำตัว
การลำเลียงสารในร่างกายของคน
หัวใจ หัวใจคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดต่างๆ มีโครงสร้างที่คล้ายกัน หัวใจอยู่ภายในถุงเยื้อหุ้มหัวใจ(pericardium) ระหว่างปอดทั้งสองข้าง ค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย ภายในถึงเยื่อหุ้มหัวใจจะมีของเหลวที่สร้างจากเยื่อหุ้มหัวใจทำหน้าที่หล่อลื่น และป้องกันการเสียดสีระหว่างหัวใจกับปอดขณะหัวใจบีบตัว จากที่นักเรียนทราบมาแล้วหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หัวใจประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ชั้นนอกและชั้นในประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิวบางๆ ส่วนเนื้อเยื่อชั้นกลางหนามาก คือ ชั้นของกล้ามเนื้อหัวใจ(cardiac muscle)
หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การเต้นของหัวใจเกิดจากการหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเป็นจังหวะ สามารถวัดการเต้นของหัวใจได้ที่หลอดเลือดอาร์เตอรีเรียกว่า อัตราการเต้นของชีพจร ซึ่งจะนับเป็นจำนวนครั้งที่หัวใจเต้นใน 1 นาที หัวใจคนปกติจะมีอัตราการเต้นระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที และจังหวะคงที่สม่ำเสมอ
ขณะที่กล้ามเนื้อหดและคลายตัวจะมีการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าในกล้ามเนื้อหัวใจ โดยสามารถบันทึกได้ด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ(electrocardiography) ผลของการบันทึกปรากฏเป็นรูปกราฟ เรียกว่า คลื่นไฟฟ้าของหัวใจ (eletrocardiogram) แพทย์จะใช้คำย่อที่เราได้ยินทั่วๆ ไปว่า ECG หรือ EKG
หลอดเลือด
เลือดออกจากหัวใจทางเลือดอาร์เตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า เอออร์ตา ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร และไหลไปตามอาร์เตอรีขนาดเล็กไปเรื่อยๆ จนถึง อาร์เตอรีโอล(arteriole) ซึ่งเป็นอาร์เตอรีที่มีขนาดเล็กที่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.2 มิลลิเมตร และเลือดจะไหลเข้าสู่หลอดเลือดฝอยซึ่งเป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับ เวนูล(venule) ซึ่งเป็นหลอดเลือดเวนที่มีขนาดเล็กที่สุด เลือดจะไหลไปตามหลอดเลือดเวนขนาดเล็กไปจนถึงหลอดเลือดเวนขนาดใหญ่ หลอดเลือดเวนที่ใหญ่ที่สุดคือ เวนาคาวา(vena cava) จะนำเลือดเข้าสู่หัวใจ
หลอดเลือดฝอย(capillary) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กผนังบางมาก ประกอบด้วยเยื่อหุ้มบุผิวเพียงชั้นเดียวมีเยื่อบางๆ หุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่ง และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 ไมโครเมตร สานกันเป็นร่างแหแทรกอยู่ตามเนื้อเยื้อทั่วร่างกาย
หลอดเลือดอาร์เตอรี เป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่มีผนังหนา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อสามชั้น ได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิวชั้นใน เนื้อเยื่อบุผิวกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยืดหยุ่นได้ หลอดเลือดอาร์เตอรีทีมีขนาดใหญ่ จะมีผนังที่มีความยืดหยุ่นดีมาก โดยเฉพาะเอออร์ตาทำให้สามารถขยายตัวเพื่อลดลงดันเลือดซึ่งเป็นแรงดันที่ค่อนข้างสูงอันเนื่องมาจากการบบีบตัวของเวนตริเคิลซ้าย การหดตัวและคลายตัวที่ผนังหลอดเลือดอาร์เตอรีมีความสำคัญมากในการปรับแรงดันของเลือดมีผลทำให้เลือดไหลไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
หลอดเลือดเวน มีผนังสามชั้นเช่นเดียวกันกับหลอดเลือดอาร์เตอรี แต่มีผนังบางกว่าจึงมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า ความดันเลือดในหลอดเลือดเวนต่ำกว่าในหลอดเลือดอาร์เตอรี
ส่วนประกอบของเลือด
เซลล์เม็ดเลือดแดง
เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่รับส่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน เมื่อเจริญเติมที่ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ไมโครเมตร รูปร่างกลมแบน ตรงกลางบุ๋ม ไม่มีนิวเคลียส และไม่มีไมโทคอนเดรีย การที่เซลล์เม็ดเลือดมีสีแดงเนื่องจากภายในเซลล์ประกอบด้วยฮีโมโกลบิน ทำให้มีความสามารถในการจับแก๊สต่างๆ ในระยะเอ็มบริโอเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส สร้างจากตับ ม้าม และไขกระดูก แต่ในทารกระยะใกล้คลอด จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะสร้างที่ไขกระดูกโดยเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่ๆ เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส
เซลล์เม็ดเลือดขาว
เซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ป้องกันและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม เมื่อเจริญเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-20 ไมโครเมตร มีจำนวนน้อยกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง คือ จำนวนประมาณ5,000 ถึง 10,000 เซนติเมตรต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร สร้างและเจริญที่ไขกระดูก แต่บางชนิดจะเจริญในต่อมไทมัส มีอายุประมาณ 2-3 วัน เซลล์เม็ดเลือดขาวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่แกรนูลและกลุ่มที่ไม่มีแกรนูล
เพลตเลต
เพลตเลต
เป็นตัวการสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือดบางคนอาจเรียกว่า “เศษเม็ดเลือด” “เกล็ดเลือด” หรือ “แผ่นเลือด” เพลตเลตมีขนาดเล็กมาก รูปร่างไม่แน่นอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2ไมโครเมตร เลตเลตไม่ใช่เซลล์แต่เป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาซึมของเซลล์ชนิดหนึ่งในไขกระดูกหลุดเป็นชิ้นๆ เข้าสู่หลอดเลือดเพลตเลตมีอายุประมาณ 10 วัน ในขณะที่หลอดเลือดฉีกขาดจากอุบัติเหตุใดๆ ก็ตาม เลือดจะไหลออกจากหลอดเลือด ถ้าเลือดไหลออกมาโดยไม่หยุดถึงแม้จะไม่ใช่บาดแผลฉกรรจ์ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แต่นักเรียนคงพบว่าเลือดจะไหลออกจากบาดแผลระยะหนึ่งแล้วมักจะหยุดไหลได้เองทั้งนี้เพราะร่างกายมีกระบวนการที่เรียกว่า การแข็งตัวของเลือดเป็นปฏิกิริยาที่ซับซ้อนและต่อเนื่องกัน
พลาสมา
พลาสมา
ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารที่ย่อยแล้ว แร่ธาตุ ฮอร์โมน แอนติบอดีไปให้เซลล์ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลความเป็นกรด-เบส สมดุลของน้ำ และรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย พลาสมาเป็นของเหลวค่อนข้างใส มีสีเหลืองอ่อน ประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 90-93 และโปรตีนประมาณร้อยละ 7-10 โปรตีนที่สำคัญคือ ไฟบริโนเจน อัลบูมิน(albumin) และโกลบูลิน(globulin) นอกจากนี้พลาสมายังประกอบด้วยแร่ธาตุหรือไอออนต่างๆ สารอาหารโมเลกุลเล็กๆ เอนไซม์ ฮอร์โมน และสารที่ร่างกายไม่ต้องการซึ่งต้องกำจัดออกได้แก่ ยูเรีย คาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าเจาะเลือดออกมาวางไว้ให้แข็งตัวแล้วปั่นแยก ส่วนที่เป็นของเหลวใส ๆ ที่ได้เรียกว่าซีรัม(serum)



