top of page
      ระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย

                       การขับถ่ายช่วยรักษาปริมาณ ของเสียในร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล หากระบบขับถ่ายของร่างกายเสียสมดุลย์จะมีผลอย่างมากต่อการทำงานของร่างกาย

 

           การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว 

                    สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอาศัยอยู่ในน้ำส่วนใหญ่ของเสียที่เกิดจากเมทาบอลิซึมจะสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกสู่สิ่งแวดล้อมได้

                    แต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่อยู่ในแหล่งน้ำจืดซึ่งมีสภาพเป็นไฮโพโทนิก(Hypotonic)น้ำจะแพร่เข้าสู่เซลล์ ดังนั้นจึงมีออร์กาแนลล์ที่ช่วยในการรักษาสมดุลของน้ำ คือ คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล ซึ่งทำหน้าที่กำจัดน้ำส่วนเกินออกนอกเซลล์โดยขอเสียก็จะปนออกมากับน้ำด้วย

 

           การขับถ่ายของสัตว์ 

                           การกำจัดของเสียของไฮดรา, ฟองน้ำ  Øฟองน้ำและไฮดรา แต่ละเซลล์สามารถสัมผัสกับน้ำได้โดยตรง ของพวกก๊าซ และ แอมโมเนีย จึงถูกขับออกโดยการแพร่ออกสู่สิ่งแวดล้อม 

 

                           การขับถ่ายของหนอนตัวแบน ได้แก่ พลานาเรีย โดยใช้เฟลมเซลล์ (Flame cell) ซึ่งอยู่2ด้านของร่างกาย มีท่อต่อกับผนังของลำตัว

 

                           การขับถ่ายของไส้เดือนดิน มีอวัยวะขับถ่ายของเสียเรียกว่า เนฟริเดียม ( Nephridium) ซึ่งมีปล้องละ 1 คู่ 

                                       เนโฟรสโตม (Nephrostome) ปลายหนึ่งรับของเหลวทางช่องภายในลำตัว ส่วนอีกปลายหนึ่งเปิดออก อยู่ภายนอกทางผิวหนัง ทำหน้าที่ขับของเสียพวกแอมโมเนีย และยูเรีย ส่วนน้ำและแร่ธาตุที่จำเป็นจะถูดกดูดกลับเข้าสู่กระแสเลือด

 

                           การขับถ่ายของแมลง อวัยวะขับถ่ายของแมลง คือ ท่อมัลพิเกียน (Malpighian tubule) ท่อมัลพิเกียนจะล่องลอยอยู่ในของเหลวในช่องภายในลำตัวของเสียจะลำเลียงเข้าสู่ท่อมัลพิเกียนแล้วกำจัดออกทางทวารหนัก 

 

                           การขับถ่ายของปลา มีอวัยวะขับถ่ายประกอบด้วย ไต 1 คู่ อยู่ภายในช่องท้องติดกับกระดูกสันหลัง ไตทำหน้าที่กำจัด ของเสียยูเรียและของเสียอื่น ๆ ออกจากเลือด ของเสียจะผ่านท่อไต (Ureter) ไปยังกระเพาะปัสสาวะ (Uninary bladder)และเปิดออกทาง Urogenital opening

 

                           การขับถ่ายของกบ อวัยวะขับถ่ายประกอบด้วย ไต 1 คู่ ไตแต่ละข้างจะมีท่อไต (Urinary duct หรือ Ureter) นำน้ำปัสสาวะไปเปิดเข้าโคลเอกา (Cloaca)ทางด้านหลัง ทางด้านท้องของโคลเอกามีถุงผนังบางปลายหยักติดอยู่ คือ กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ของเสียที่เข้าสู่โคลเอกาจะถูกขับออกทันทีหรือนำมาเก็บที่กระเพาะปัสสาวะ

 

                           การขับถ่ายของนกและสัตว์เลื้อยคลาน ส่วนใหญ่มีการป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย โดยจะมีโครงสร้างร่างกายที่ป้องกันการสูญเสียน้ำ เช่น มีผิวหนังหนา มีเกล็ดหรือมีขนปกคลุมร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการขับถ่ายของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในรูปกรดยูริก ซึ่งใช้น้ำในการกำจัดน้อยมาก

 

 

 

ระบบขับถ่ายของคน

         ของเสียในร่างกายมีอะไรบ้าง

             1. ของเสียในรูปแก๊ส  คือ  ลมหายใจ  

             2. ของเสียในรูปของแข็ง  คือ  อุจจาระ

             3. ของเหลว  คือ  เหงื่อและปัสสาวะ

         การขับถ่ายของเสียทางปอด

            โดย CO2 ในเส้นเลือดจะแพร่เข้าสู่ปอด บริเวณถุงลม จากนั้นจะถูกปลดปล่อยออกสู่ภายนอกโดยอาศัยการหายใจออก

         การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง 

            ในผิวหนังของคนสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อโดยเหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ

         ในเหงื่อประกอบด้วย 

             1. น้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์

             2. สารอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวก

                  - เกลือโซเดียมคลอไรด์

                  - สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล  แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย

          ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ 

               เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย  โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย  ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส

          การขับถ่ายผ่านลำไส้ 

               โดยกากอาหารที่เคลื่อนเข้าสู่ลำไส้ใหญ่จะถูกดูดซึม น้ำ และ วิตามิน ออกไปหากกากอาหารอยู่ในลำไส้นานอาจเป็นสาเหตุของหลายโรค เช่น มะเร็ง ผิวหน้าไม่ผ่องใส และ เป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้

 

© 2023 by TKsompratana. Proudly created with Wix.com

  • w-facebook
  • Twitter Clean
  • w-flickr
bottom of page